หลักการทำงานเครื่องปรับอากาศ

หลักการทำงานระบบเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบต่างๆ

ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศมีการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันโลกร้อนขึ้นเฉลียปีละ 5 องศา และเพื่อความสะดวกสบายของมนุษย์ เครื่องปรับอากาศมีทั้งขนาดเล็กแบบใช้กับบ้านที่อยู่อาศัย และขนาดใหญ่ ที่ใช้ตามสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ในวันนี้ จะมาแนะนำ ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ ที่มีขนาดใหญ่ 

เกรทสตาร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด รับสั่งผลิตและออกแบบแผงฟินคอยล์เย็น คอลย์ร้อน คอยล์น้ำเย็น

ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศคืออะไร ?
เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ คือ เครื่องที่ใช้ปรับอุณหภูมิของอากาศ ในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ที่ ต้องการปรับอากาศ เพื่อปรับอากาศให้เกิดความสะดวกสบายของมนุษย์ หรือใช้รักษาสภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น การปรับอากาศไม่ใช้ปรับให้มีอากาศเย็นลงเพียงอย่างเดียว ในเพื้นที่ที่มีอากาศหนาว จะปรับอุณหภูมิของอากาศให้ร้อนขึ้น โดยอาจใช้ เครื่องทำความร้อน ( Heater ) ในการปรับอากาศ ซึ่งบทความนี้ จะกล่าวถึง การปรับอากาศในโซนเขตร้อนชื้น ที่จะทำหน้าที่ปรับอากาศให้เย็นลง ที่นิยมใช้ในประเทศไทย 

หลักการทำงาน

ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ

ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศ มี 6 อย่างคือ

พัดลม ( Fan ) หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่หมุนเวียนอากาศภายในห้อง ถ้าอากาศภายในห้องมีการหมุนเวียนเร็วหรือช้ามากเกินไป กระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายของคนที่อยู่ในห้องจะไม่ดี ทำให้ไม่รู้สึกสบาย จึงจำเป็นต้องมีการปรับจำนวนอากาศที่หมุนเวียนให้พอเหมาะ ซึ่งกระทำได้โดยการเปลี่ยนความเร็วรอบของพัดลมให้ช้าลงหรือเร็วขึ้น เพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศดีขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการปรับอากาศหมุนเวียนที่ดีแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกสบายเสมอไป ยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีก เช่น อุณหภูมิที่ร่างกายสุขสบายอยู่ในช่วง 24 – 26 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50% R.H. ความสะอาดของอากาศ และกลิ่น เป็นต้น

ท่อส่งลม ( Supply Doct ) จะส่งลมโดยตรงจากพัดลมเข้ายังห้องปรับอากาศ ท่อลมส่งลมควรจะสั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ และควรมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่อากาศจะสามารถไหลผ่านได้โดยสะดวก

หัวจ่ายลม ( Supply Outlet ) จะเป็นตัวช่วยกระจายลมภายในห้องให้มีการหมุนเวียนอย่างทั่วถึง เป็นส่วนที่ต่อจากท่อลมส่งเปิดเข้าสู่ภายในห้องปรับอากาศ ลมเย็นที่ถูกส่งมาจากท่อลมจะถูกเป่าเข้าในห้องโดนผ่านทางหัวจ่ายลมนี้ หัวจ่ายลมที่ดีต้องออกแบบให้สามารถควบคุมทิศทางของการส่งลม และควบคุมปริมาณลมได้ด้วยซึ่งในการควบคุมทิศทางการจ่ายลมนี้ต้องคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งของหัวจ่ายลมและจำนวนหัวจ่ายลมภายในห้อง ให้พอเหมาะกับความสบายของคนที่อยู่ในห้อง

หัวลมกลับ ( Return outlet ) ทำหน้าที่ให้อากาศในห้องผ่านเข้ายัง ท่อลมกลับทางหัวลมกลับนี้ ตามปกติหัวลมกลับมักจะติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกับหัวจ่ายลม ตัวอย่างเช่น ถ้าติดตั้งตัวจ่ายลมไว้ที่เพดานห้องหรืออยู่ที่ผนังใกล้เพดาน หัวลมกลับก็ควรจะติดตั้งอยู่ที่พื้นที่ หรืออยู่ที่ผนังใกล้พื้นห้อง แต่ก็ไม่เป็นเช่นนี้ทุกกรณีไป อย่างไรก็ตามในบางครั้งอาจติดตั้งทั้งหัวจ่ายลมและหัวลมกลับไว้ใกล้เพดานหรือใกล้พื้นด้วยกันทั้งคู่ก็ได้

ฟิลเตอร์ ( Filter ) โดยปกติแล้ว ฟิลเตอร์ มักจะติดตั้งอยู่ตรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในท่อลมกลับ ฟิลเตอร์ ทำจากวัตถุหลายชนิด เช่น ทำจากฟองน้ำซึ่งมีส่วนผสมของพลาสติก บางแบบทำด้วยใยของโลหะพวกอลูมิเนียม และบางแบบใช้หลักการของไฟฟ้าสถิตที่สามารถดูดอณูของฝุ่นละอองที่ผ่านเข้ามาไว้ได้

จุดมุ่งหมายของการใช้ฟิลเตอร์ก็เพื่อทำให้อากาศสะอาดโดยแยกเอาฝุ่นผงและส่งสกปรกที่ติดอยู่ในอากาศออก เพื่อป้องกันมิให้เกิดการอุดตันทางลมที่คอยล์เย็น

คอยล์เย็น ( evaporator-coil ) เป็นอุปกรณ์หลักอันหนึ่งของเครื่องปรับอากาศ ทำหน้าที่ดูดรับความร้อนออกจากอากาศ ทำให้อากาศที่ผ่านคอยล์เย็นมีอุณหภูมิลดต่ำลง

เกรทสตาร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราจัดจำหน่ายชิ้นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ